ads

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

จุดอ่อนสำคัญของ เฟรมปรินซิเปีย principia frame

ซุปเปอร์แมนยังกลัวคริปโตไนท์ นับประสาอะไรกับเฟรมจักรยานปรินซิเปียprincipia frame ผมเจอแบบจังๆกับตัวเอง และเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกสามสี่คนครับ ด้วยโลหะปรินซิเปียที่รีดจนบางจ๋อย กับกรรมวิธีการอัดถ้วยคอปรินซิเปียแบบโง่ๆของผม ทำให้เฟรมปรินซิเปียprincipia frameตัวแรก ปี2002 ท่อคอร้าว หลังจากการใช้งานเพียงแค่สิบกว่าทริปและแข่งขันในทางแทรคอีกสองครั้ง ผมคิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากการที่ผมประมาท กับการตอกถ้วยคอด้วยท่อนไม้ โป๊กๆๆ แต่มันไม่เกิดอาการเดี๋ยวนั้นครับ จนผมใช้ไปพักถึงมีอาการแบบนี้เกิดขึ้น แต่พี่ติ่งสปีดแม็กซ์ใจดีมาก เคลมปรินซิเปียให้ผมจนทำให้ผมได้เฟรมปรินซิเปียตัวใหม่มาภายในเวลาสองสามเดือน แต่ตัวที่ได้มากลับกลายเป็นปรินซิเปียปีที่เก่ากว่า นั่นคือปรินซิเปียปี2001 และที่สำคัญผมกับรักมันมากกว่าปรินซิเปียตัวแรกซะอีก เพราะว่ามันเป็นปรินซิเปีย disc only โลโก้เหลือง ที่หายากมากๆ
มาว่ากันเรื่องจุดอ่อนของเฟรมต่อครับ ระหว่างนั้นผมได้ข่าวว่ามีนักปั่นทานหนึ่งที่ชลบุรีปั่นจนเฟรมปรินซิเปียขาด ป๊าดเข้าให้ ผมคิดในใจนี่มันทำจากอลูมิเนี่ยมหรือสังกะสีนะนี่ จนได้คุยกับพี่ตี๋ร้านราชา่จักรยาน ถึงได้ทราบว่าคนที่ทำเฟรมขาดคือ สุรจิตต์ จิโรจน์วงศ์ ทีมชาติไทยขวัญใจผมนี่เอง พี่ตี๋บอกว่า คุณเล็กโดดลอยข้ามเนินมาแล้วรถดันลงมาคร่อมเนินพอดี จากนั้นเิินินก็ทำหน้าที่ของมันได้อย่างดี คือจัดการถ่างเฟรมออกจากกัน จนท่อบนและท่อล่างขาด ผมคิดว่าในวันนั้นถ้าเป็นเฟรมยี่ห้ออื่น ก็น่าจะไม่รอดเหมือนกัน และในเร็วๆนี้ก็ได้เห็นเฟรมปรินซิเปียของเพื่อนสมาชิกท่านนึงก็เฟรมขาดเหมือนกัน น่าคิดนะ อืมๆๆ ป.ล คุณ สุรจิตต์ ใช้เฟรม ปรินซิเปีย msl pro(principia frame msl pro)
ปัจจุบันเฟรมปรินซิเปียปี2001 disc only ได้ขายต่อให้หัวหน้าทีมจักรยานของผมเองได้ใช้ต่อ และบางวันผมก็ยืมมาปั่นบ้าง ซึ่งรวมเวลาใช้งานตั้งแต่ปี 2002 จนถึงปัจจุบัน ก็แปดปีเข้าไปแล้ว กับทางออฟโรดกว่าร้อยทริป(พวกผมจะไม่ค่อยได้ปั่นทางเรียบครับ) สภาพเฟรมปรินซิเปียมีรอยบ้างแต่ยังใช้งานได้ดีอยู่ ไม่มีอาการร้าวหรืออะไรเกิดขึ้น อ้อปรินซิเปียรุ่นปี2001จะไม่มีรุ่นโปรครับ ท่อคงจะหนากว่ารุ่นโปรเลยทำให้ทนกว่า

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

การโดนย้อมแมวของการซื้อสินค้าจักรยานใน ebay


หลังจากผมได้ซื้อของจากอีเบย์มาสักพัก และคิดว่าเพื่อนๆหลายท่านคง กำลังสนใจอยู่เช่นกัน ผมเลยอยากจะให้ระวังการซื้ออะไหล่จักรยาน จากอีเบย์ดังนี้ครับ
1.การซื้อมือเกียร์ มือเบรค ควรอ่านรายละเอียดให้ดีว่า ราคาที่ลงไว้นี้สำหรับขายเป็นคู่หรือขายเฉพาะข้างเดียว
2.การซื้อมือเกียร์ มือเบรค ควรสอบถาม ก่อนว่า แต่ละข้างเป็นรุ่นเีดียวกันหรือไม่ ปีเดียวกันหรือเปล่า
3.การ เลือกซื้อโช้ค ควรสังเกตุให้ดีว่า ท่อบนกับประบอกล่าง เป็นรุ่นเดียวกันหรือไม่ โดยเฉพาะ โช้คซิดที่กระบอกบนเป็นปี 2002 แต่กระบอกล่างเป็นปี2003 ได้ สังเกตุได้ง่ายๆจาก สารทีเคลือบแกนโช้ค ปี 2002 จะจะเป็น teflon สีออกด้านส่วนปี 2003 จะเป็นสีที่เงากว่าไม่แน่ใจว่าเป็นไททาเนี่ยมไนไตรต์หรือไม่ ผมลืมสเป็คมันแล้ว ซึ่งเคสต์สับเปลี่ยนแกนนี่สามารถพบได้บ่อยมาก อยากให้ระวังโดยเฉพาะโช้คซิดนะครับ เพราะย้อมแมวสับเปลี่ยนแกนโช้คเยอะมาก
4.คล้าย กับข้อ 1. ให้สังเกตุอะไหล่อะไรก้ตามที่ขายเป็นคู่ ให้ดูให้ดีว่า ราคาขายเป็นคู่หรือแยก หรือจะให้ดีเช็คระหัสเลย ยกตัวอย่าง มือเกียร์ิชิมาโนปี 2002 จะมีระหัส 952 แต่บางทีเราอาจะเจอ ตัวที่โชว์ เป็น 952 แต่อีกตัววางหลบมุมกล้องไว้ แต่กลับเป็ฯระหัส 950 หรือ 951
5. การเลือกซื้อหลักอาน ไซส์แปลกๆ ที่บ้านเราไม่มี บางครั้งก็จำเป็นต้องสั่งจากนอก ถ้าเป็นไปได้ ให้ผู้ขาย ถ่ายรูประหว่างที่มีเวอร์เนียคาลิปเปอร์ หรืออุปกรณ์วัดแบบอื่นๆ วัดคาอยู่ เพราะเราสามารถเจอหลักอานมั่วนิ่มไซส์มาให้เราได้
ป.ล ผมว่าข้อแนะนำต่างๆทีไ่ด้พิมพ์มา สามารถใช้ได้ทั้ง อีเบย์ หรือการซื้อสินค้าจากเมืองนอก ฝรั่งก็ย้อมแมวเก่งเหมือนกันครับ แล้วถ้ามีเทคนิคการย้อมแมวจากฝรั่งใหม่ๆ จะทยอยมาอัพเดทอีกครับ หรือถ้าใจร้อนก็สามารถตามได้จาก blogger ตามลายเซ็นต์ด้านล่างครับ เพราะผมออนไม่บ่อยนัก

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันนี้วันเสาร์ที่12 งดสาระ แต่ขอรำลึกความหลังกับเสือภูเขาคันแรกครับ

ผมเริ่มต้นปั่นจักรยานเสือภูเขาประมาณปี 1995 ตอนนั้นผมเพิ่งเรียนจบมาใหม่ๆ และข้างๆมหาลัยผมมีร้านจักรยานอยู่ร้านนึง ชื่อ zone rider ร้านนี้เป็นตัวแทนจำหน่ายจักรยานยี่ห้อที่ทุกคนต้องร้องอู้หูแน่ นั่นคือ voodoo นั่นเองครับ และอีกยี่ห้อนึงก็คือ GT นั่นไงครับแต่ละยี่ห้อเด็ดๆทั้งนั้นส่วนราคาไม่ต้องพูดถึง ผมเคยไปยืนเกาะกระจกร้านดูป้ายราคา เห็นราคาเฟรมวูดู bizango โครโมรี่ ราคา40000 โอ้ววว ตอนนั้นข้าวแกงจานละ15-20บาทเอง ค่ารถเมล์ก็แค่2.50บาท ได้แต่ฝันครับและหลังจากนั้นไม่นานผมก็ได้รู้จักพี่คนนึง แกเป็นซาวด์เอ็นจิเนียร์ของแกรมมี่ และนั่นคือครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสได้ขี่เสือภูเขาจริงๆกะเค้าซะที คันแรกที่ผมได้ลองปั่นคือ Giant ATX 890 สีเหลือง ซึ่งเป็นรุ่นท้อปของสมัยก่อน สมัยนั้นโปรไบค์เป็นตัวแทนขายไจแอนท์และเทรค และนอกจาก giant ผมก็ยังได้มีโอกาสปั่นจักรยานสุดหรูของสมัยอีกคันก็คือ สุดยอดฟูลซัสอย่าง GT RTS-1 ยุคนั้นถือเป็นยุครุ่งเรืองของ GT สังเกตุได้จากในนิตยสารเมืองนอกหลายๆเล่ม เฟรมGt ล่อโฆษณาซะเต็มหน้า ในขณะที่ ยักษใหญ่ อย่างเทรคและเฟรมสุดหรูอย่าง lite speed ได้แค่กรอบเล็กๆ สามสี่นิ้วเท่านั้นเอง ยี๊ๆๆๆ เดี๋ยวมาคุยกันต่อครับ ง่วงและ...

เน้นๆ กับความแตกต่างระหว่าง principia ทำในเดนมาร์ก กับทำที่ไหนไม่รู้

เท่าที่ผมได้ครอบครองมาถึงสี่รุ่นสี่เฟรม ผมพอจะจับความแตกต่างได้อย่างนึงคือ องศาขอเฟรมปรินซิเปียprincipiaรุ่นใหม่ เอาเป็นว่าผมเรียกว่าปี 2005 ขึ้นไปละกัน องศาของปีใหม่ๆ มันจะเน้นไปทางขับขี่สบาย ง่ายต่อการควบคุม แต่มันขาดเสน่ห์และเอกลักษณ์ของเฟรมไป ถ้าเป็นผม ผมจะเล่นของปีเก่าที่พี่ติ่งสปีดแมกซ์นำเข้ามากกว่าปีที่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในไทย
แล้วอะไรที่ทำให้ผมชอบเฟรมรุ่นแรกๆมากกว่า อย่างแรกเลยคือ จุดเด่นของปรินซิเปียprincipiaคือ อลู7020-T6 ซึ่งมีความแข็งมาก ซึ่งรุ่นใหม่ๆที่ไม่ได้ใช้ 7020-t6ในการผลิตเฟรมแล้ว ที่ทราบเพราะผมได้เขียนอีเมลไปถามด้วยตัวเอง แต่โลหะชนิดใหม่ผมไม่อาจพูดได้ว่าดีแค่ไหน แต่ด้วยราคาที่ลดลงอย่างมาก ผมว่ามันก็น่าจะเกี่ยวข้องกับต้นทุนของวัตถุดิบและขบวนการผลิตที่ต่ำลง และได้ยินจากปากนักปั่นหลายๆท่าน ได้พูดกันต่อๆว่า มีปัญหาเรื่องสติกเกอร์หลุดค่อนข้างเยอะ แต่ผมเฉยๆ ผมซีเัรียสเรื่ององศาของเฟรมมากว่า
อีกมุมหนึ่งสำหรับเพื่อนๆที่อยากได้ปีเก่าๆแต่หาไม่ได้ ถ้าอยากได้ปรินซิเปียprincipiaจริงๆ ผมอยากแนะนำให้ หาปรินซิเปียล็อตแรกที่ ทีซีเอ นำเข้ามา ซึ่งรุ่นนี้ยังได้รับอานิสงค์ขององศาเฟรมจาก ปรินซิเปียปี 2003-2004 อยู่ ซึ่งจะมีกลิ่นไอของปรินซิเปียแท้ๆเหลืออยู่ แต่เรื่องวัสดุผมไม่มั่นใจว่าเป็นอะไร เพราะสติ๊กเกอร์ไม่ได้แจ้งไว้ แต่ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวอยุ่นิดนึงนะครับ ขอย้ำว่าความเห็นส่วนตัว อย่าเชื่อผมมากนัก ผมคิดว่าเฟรมล็อตแรกที่ตัวแทนในบ้านเรานำเข้ามานี้ (ประมาณปี 2005-2006 หรือสังเกตุได้จากการวัดความยาวท่อ อ้างอิงในเฟรมไซส์16.5 จะมีท่อบนยาว557mm และท่อนั่ง439mm) น่าจะมาจากบริษัทที่เข้ามาใหม่ ได้มีการนำท่อจากบริษัทเก่าที่เหลือค้างๆอยู่มาผลิตและทำสีใหม่แล้วขายหรือระบายของเก่าให้หมดนั่นเอง อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ขอย้ำ และเมื่อท่อเหล่านี้หมด ก็เข้าสู่องศาและวัสดุที่ออกแบบใหม่ทั้งหมดเช่นปัจจุบัน นั่นเอง

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

กำจัดจุดอ่อนกับ ปรินซิเปีย principia

จากบทที่แล้ว เราพูดกันถึงการทำให้เฟรมอลูนุ่มและขับขี่สบายในแบบฉบับของแต่ละยี่ห้อ รวมถึงการส่งแรงต่างๆภายในเฟรม ในบทความนี้เรามาพูดกันถึงการแก้ไขปัญหานี้ในแบบฉบับของปรินซิเปียprincipiaกันบ้างครับ จากบทที่แล้วเราพูดถึงการทำให้เสตย์หลังทั้งสองส่วน ในการส่งผ่านแรงและการทำให้เฟรมนุ่มกัน แต่ปรินซิเปียprincipiaแก้ปัญหานี้โดยการ ทำให้เชนสเตย์และซีทสเตย์แข็งแกร่งสุดๆ ไม่มีการรีดให้บางลงอีกต่างหาก เอาหละสิ เฟรมจากเดนมาร์กนี้จะมาไม้ไหนนี่ แต่ลองหันมาดูท่อบนกันครับ ปรินซิเปียกลับใช้ท่อบนให้รีดแบน เพื่อเป็นท่อที่คอยให้ตัว เพื่อเฟรมนุ่มนั่นเอง แต่ขณะเดียวกัน สตเย์หลังทั้งสองส่วนก็ยังคงประสิทธิภาพในการส่งผ่านแรงได้อย่างดีและดีมากด้วย อยากรู้ว่าสเตย์หลังของปรินซิเปียprincipiaแกร่งแค่ไหน ลองถอดล้อหลังออก แล้วลองเอามือบีบเชนเตย์เข้าหากันสิครับ หลังจากนั้นลองทำแบบเดียวกันกับเฟรมอลูยี่ห้ออื่น แล้วลองเปรียบเทียบดูว่าต่างกันยังไง อันนี้ขอพูดเฉพาะเฟรมprincipiaรุ่นทีี่่ทำจาก 7020-T6 เท่านั้นนะครับ คราวนี้ว่ากันต่อเรื่องท่อบนกันต่อ การที่เฟรมจะส่งแรงได้ดีหรือไม่นั้น มันก็ไม่ได้มาจากสเตย์หลังทั้งหมด มันต้องรวมถึงการเชื่อมต่อของหลายๆส่วนด้วย การรีดท่อบนให้แบนนั้น ยังมีประโยขน์อีกอย่างนึงคือ ในการที่เราโยกรถเพื่อสปริ๊นท์นั้น ด้วยลักษณะท่อแบน ในแนวขวาง ยังทำให้เฟรมไม่เฟล็กขณะที่โยกรถด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ที่มาของ นุ่ม พุ่ง เยี่ยมในซิงเกิ้ลแทรค นิยามของ principia

ด้วยโลหะแกร่งพิเศษชนิดที่ scandium ยังหนาวของเฟรมปรินซิเปียprincipia หลายคนคงคิดว่ามันน่าจะกระด้างและพุ่งมากกว่านุ่ม ทำให้ปรินซิเปียprincipiaแก้ไข และปรับแต่งจุดด้อยของเฟรมโดยใช้แนวคิดที่แตกต่างจากบริษัทอื่น เริ่มที่วิธีการทำให้เฟรมอลูนุ่มได้นั้น เปรียบเทียบกับผู้ออกแบบเจ้าอื่นหรือแทบจะทุกๆเจ้า จะแก้ไขโดยการให้ความสำคัญกับ chain stay และ seat stay ด้วยการดัดท่อในส่วนนี้ให้เล็กลง หรือโค้งงอ หรือรีดให้แบบ ดูได้จาก (ritchey plaxus/cannondale scapel) ไปจนกระทั่ง ทำการรีดท่อภายในหรือ butted ให้ผนังท่อบางลง เพื่อให้ท่อของทั้งสองส่วนนี้ให้ตัวได้ เพื่อให้เกิดความนุ่ม ดูได้จาก เฟรมโครโมรี่เกรดสูงๆจะใช้โครโมรี่เกรดที่ต่ำลงมา นำมาใช้ทำท่อในส่วนchainstay/seat stay ยกตัวอย่างคือ เฟรมrocky mountain blizzard ปีเก่าๆ จะใช้reynolds 853ทำท่อหลักแต่ใช้ึ753ทำseat stayและchainstayซึ่งวิธีนี้ก็ได้ผลดี แต่กลับทำให้เกิดผลเสียที่สำคัญตามมา คือ ความพุ่งนั่นเอง ทำไมหรือ.. ก็เพราะว่าท่อในสองส่วนหลังนี้ก็เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายกำลังของโซ่ จากใบจานไปสู่เฟือง ซึ่งการกดบันไดแต่ละครั้งก็มีความเค้นอย่างสูงเกิดขึ้น ย่อมส่งผลของการบิดตัวของท่อ ทำให้ตัวท่อเกิดอาการส่งแรงได้ไม่ดีนัก เพราะโลหะให้ตัวได้นั่นเอง... บทต่อไป ปรินซิเปียprincipiaแก้ไขด้วยวิธีไหนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฟีลลิ่งเฟรมprincipia


ฟิลลี่ิงเฟรมprincipia หลังจากที่ผมได้ปั่นมาเกือบสี่รุ่น แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันสองแบบ สอง geometry ผมชอบฟิลลิ่งของprincipiaปีเก่ามากกว่า เพราะมีท่อบนที่สั้น และฐานล้อที่สั้น ที่ทำให้เข้าซิงเกิ้ลแทรคได้ง่ายมากๆ แต่ก็ยังรู้สึกเหวอๆ เวลาลงเขาบ้างเพราะท่อที่สั้น น้ำหนักมาด้านหน้าเยอะ ผมใช้เฟรม ปั่นขึ้นเขา ด้วยโลหะที่สติฟของเฟรม7020-t6 ทำให้ปั่นขึ้นได้ไม่ยาก ความสติฟของโลหะและเฟรม ช่วยได้เยอะครับ ส่วนองศาของprincipiaปีถัดมาหรือปี 2003 ท่อบนยาวขึ้น องศาต่างๆใกล้เคียงแกรี่ ฟิชเชอร์เอามาก ลงเขาได้ดี และเฟรมยังคงความพุ่งเหมือนเดิม แจาผมไม่ประทับใจนัก เพราะไม่มีจุดเด่นอะไร เคยลองปั่นprincipia เทียบกับklein ผมกับรู้สึกว่าไม่แตกต่างกันมากนัก เว้นเสียแต่ principiaงานปราญีตกว่า เบากว่า สีดีกว่า

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

องศาของปรินซิเปียและจุดของความแตกต่างที่เห็นได้ชัด

รองต่อของปีระหว่าง 2002และ2003 ซึ่งเป็นรอยต่อของเฟรมปรินซิเปีย ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยปรินซิเปียในปี 2003 เป็นต้นไป มีลักษณะองศาของเฟรมที่เป็นลักษณะของเฟรมยุคใหม่ที่จะมีท่อบนยาวขึ้น โดยส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากองศาแบบ genesis geometry ของGARY FISHER และchain stayที่สั้นลงกว่าเดิม424mm กลายเป็น416mm ท่อนั่งชันขึ้นจาก 73-74 องศา ท่อบนยาวอีกสองเซ็นติเมตร ผมดูแล้วนี่มัน แกรี่ ฟิชเชอร์ชัดๆ จากนั้นมาดูกันต่อที่เฟรมบ้าง ยังใช้โลหะชนิดเิดิมคือ 7020 T-6 แต่ในปีนี้มีแต่รุ่นโปรอย่างเดียว โดยใช้ชื่อรุ่นว่า msl Pro การทำสียังเป็นแบบ silk black anodized ซึ่งเป็นการทำสีอโนไดซ์ที่จะฉ่ำๆ ไม่ด้าน สวยงามมาก หลังจากนั้นไม่นานผมก็ได้เป็นเจ้าของ ในปีนี้ขี่ได้ง่ายไม่ว่อกแว่กเหมือนปีเก่า ผมเคยลองนำมาปั่นเทียบกัย klein ยอมรับว่า ไม่หนีกันเท่าไหร่นักในทางตรง แต่พอเข้าแทรค ก็ยังเหนือกว่าไคลน์อยู่ เนื่องด้วยฐานล้อที่ยังสั้นกว่าkleinอยู่เกือบสามเซ็นต์

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จุดสังเกตุปีที่ผลิตของเฟรมเสือภูเขา principia (ภาคสอง)

ความแตกต่างของเฟรมเสือภูเขาในแต่ละปีของเฟรม จะมีจุดสังเกตุแค่ไม่กี่จุด หลักๆคือ
1.หางปลาหลัง โดยในbloggerของผมจะขอกล่าวถึงเฉพาะปี 2004 ลงไปนะครับ(ซึ่งโดยความเชื่อส่วนตัว ผมคิดว่าเฟรมหลังจากปีนี้ลงไป ยังผลิตในเดนมาร์กอยู่)
2.องศาของเฟรม จะแบ่งเป็นสองยุค ยุคใหม่และยุคเก่า
3.ท่อคอและกระโหลก แบ่งเป็นแบบท่อกลมธรรมดาและท่อแบบถังเบียร์
นอกนั้นจะแตกต่างเพียงแค่สติ๊กเกอร์ ซึ่งผมเหมาเอาว่า ไม่ได้แก้ไขอะไรจนเด่นชัดนัก
ในเฟรม principia ปี2003 มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง จึงทำให้สังเกตุได้ไม่ยากว่าเฟรมลักษณ์นี้ปีอะไร

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จุดสังเกตุปีที่ผลิตของเฟรมเสือภูเขา principia

ในที่นี้ผมขอพูดถึงเฉพาะเฟรมที่ถูกนำเข้าโดยสปีดแม็กซ์ หรือยุคก่อนที่ทีซีเอจะนำเข้านะครับ เดิมที เฟรมเสือภูเขาprincipia ได้มีผู้หิ้วเข้ามาหลายราย หรือแม้กระทั่งยุคหนึ่งของworldbikeที่ยังไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายgiantก็ยังเคยเอาเฟรมprincipiaเข้ามาด้วย(พบจากหน้าโฆษณาsport street แต่จำปีไม่ได้แล้วนะครับ) ตอนนี้ราคาที่ผมจำได้น่าจะประมาณสี่หมื่นกว่าบาท ซึ่งแพงมากกกก กับเฟรมอลูที่ยังไม่มีคนรู้จักเท่าไหร่นัก จนไม่นาน พี่ติ่งสปีดแม็กซ์ ได้นำprincipiaเข้ามาใช้แข่ง เป็นตัวสีขาว ตอนนั้นน่าจะราวๆปี1999หรือ2001 แต่ไม่น่าเกินนี้เพราะที่สังเกตุคือ ยังใช้โช้คซิดรุ่นแรก ยุบ63มมอยู่
ถัดจากนั้นมาไม่นานก็เริ่มมีการจำหน่ายอย่างจริงจังประมาณปลายปี2002โดยprincipiaรุ่นแรกที่นำเข้ามาจะเป็นสีดำโลโก้สีเหลือง และต้องเลือกว่าจะเอา disc only หรือ v-brake only ซึ่งผมมีทั้งสองตัว ในปัจจุบันแบ่งขายprincipiaตัวดิสค์ให้รุ่นพี่ในกลุ่มแล้ว ถัดจากนั้นมาไม่นานแต่ยังเป็นปี 2002 เหมือนเดิม แต่เป็นปลายปี ก็เป็นรุ่น principia msl โดยแบ่งเป็น msl และ msl pro โดยต่างกันที่ สีของโลโก้ และ การรีดท่อ หรือ butted และน้ำหนัก ขอเริ่มเลยละกันนะครับ

1.Principia MSL โลโก้ สีขาว เนื้ออลูหนากว่า รับประกันห้่าปี ราคาถูกกว่า มีน้ำหนักมากกว่า และยังต้องเลือกเหมือนเดิมคือ disc หรือ v-brake


2.Principia MSL Pro โลโก้สีดำ ขอบเงิน เนื้ออลูบาง น้ำหนักเบากว่า รับประกันสามปี ราคาแพงกว่ารุ่นปกติ และยังต้องเลือกเหมือนเดิมคือ disc หรือ v-brake
- รายละเอียดของprincipiaรุ่นนี้คือ กระโหลกยังไม่เป็นถังเบียร์ ท่อคอจะเป็นถังเบียร์ มีขนาดใหญ่ ต้องใช้ถ้วยคอโอเวอร์ไซส์ ของ king รุ่น Devolutions หางปลาหลังในส่วนที่ใช้ยึดดรอปเอ้าท์ มีขนาดเล็ก และใช้หลักอานขนาด 31.4 เท่านั้น
**** นี่คือรายละเอียดของprincipiaปี 2002 ***** พรุ่งนี้มาว่ากันเรื่องprincipiaปี 2003 กันต่อนะครับ ซึ่งprincipiaปี 2003 มีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกหลายๆอย่าง

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

group set & accessories คู่บารมีของ principia


เฟรมเสือภูเขา principia แทบทุกรุ่น จะใช้อะไหล่ sram ผสมกับ TUNE โดยแยกกันตามนี้ sram จะใช้กับชุดมือเกียร์/ตีนผี/สับจานหน้า และเบรค นอกนั้นจะใช้ส่วนจาก tune แทบทั้งหมดผสมกับ ritchey บ้างในบางชิ้น สังเกตุเห็นอะไรไหมครับ ... principia ไม่มีชิ้นส่วนจากชิมาโนเลย ทกชิ้นมาจากยุโรปทั้งนั้น(แต่ผลิตที่ไหน คงไม่ต้องบอก แต่สมัยก่อนsramอาจจะผลิตใน อเมริกาด้วยมั๊งครับ) คงอารมณ์ประมาณว่า เหยียดสีผิวเล็กๆ มั๊ง 55 ก่อนจบบทความนี้ เพิ่มเติมในส่วนของเสือหมอบprincipiaบ้าง เสือหมอบทุกคันของ principia จะใช้ตะเกียบคาร์บอนของบริษัท isaac ซึ่งเป็นบริษัทที่ใช้ วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นคาร์บอนไฟเบอร์เกรด aircraft ซึ่งเป็นเกรดเดียวกับที่นำมาผลิต เครื่องบิน และบริษัทเคยแยกให้ดูเลยว่าแต่ละส่วนของสินค้าเค้า ใช้คาร์บอนจากบริษัทไหนบ้างในการผลิต เท่าที่ผมจำได้ จะมี mitsubishi ด้วยมั๊งครับ ปัจจุบัน isaac ได้ผลิตเฟรมจักรยานแบรนด์ของตัวเองแล้ว โดยผลิตใน เชค แต่ยังคงวัตถุดิบเกรดสูงเช่นเดิม โดยเฟรมเสือภูเขาของ isaac เป็นเฟรมคาร์บอน และชื่อรุ่นว่า isaac impact และอาจได้รับอิิทธิพลในเรื่อง geometry จาก principia คือการใช้ท่อบนที่สั้นในแบบ old school ใน ไซส์ 17.5" แต่มีความยาว top tube แค่ 21.5" เท่าันั้นเอง ว๊าววว

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รุ่นต่างๆของเฟรม principia










principia สำหรับเสือภูเขานั้น เดิมทีใช้ชื่อว่า mac b แล้วเปลี่ยนมาเป็น principia mac sl / msl /msl pro / msle pro/ เฟรมปรินซิเปียทุกรุ่นผลิตในประเทศเดนมาร์ก และเฟรมทุกรุ่นผลิตจากอลูมินั่ม 7020-T6 ซึ่งเป็นอลูเกรดสูง มีความแข็งมากที่สุดในบรรดาอลูด้วยกันที่ยังสามารถเชื่อมได้อยู่(มีแข็งกว่้านี้ แต่ไม่สามารถเชื่อมได้ ข้อมูลจาก bikeloves.com) ซึ่งมีจุดเด่นที่ความสติฟ และผมที่ตามมาของเฟรมที่สติฟ ก็คือความกระด้างนั่นเอง เดี๋ยวเย็นๆมาว่ากันต่อเรื่องรายละเอียดของวัสดุชนิดนี้กันครับ อ้อ เมื่อสักครู่ผมไปดูเว็บไซต์ของ principia ได้มีการนำเอาชื่อรุ่น MAC B กลับมาใช้ใหม่แล้วครับ
ป.ล สติกเกอร์ด้านบน แสดงถึงวัสดุที่นำมาผลิต โดยด้านซ้ายสุดคือ โลโก้ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1999-2004 หรืออาจจะลากไป principia2005 บ้าง ส่วนรูปโลโก้ด้านขวา คือใช้กับรุ่น MAC B ครับ

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทำไมผมรัก เฟรม principia msl

เมื่อราวปี2001 หรือเกือบสิบปีที่แล้ว ผมอยากได้เฟรมเสือภูเขาสักเฟรม ยี่ห้ออะไรก็ได้ที่ท่อบนสั้นๆ นุ่ม พุ่ง ทำสีผิวแบบอโนไดซ์ เพื่อทนต่อการขัดข่วนและน้ำหนักเบากว่าการทำสีแบบพาวเดอร์โค้ด ผมเรื่องมากไปไหมเนี้ย จนในที่สุดผมได้มาพบกับเฟรม principia จากการแนะนำภายในเว็บ ไบค์เิลิฟ ของป๋าลู ด้วยลักษณะของเฟรม principiaท่อบนที่สั้น สไตล์ old school ทำสีอโนไดซ์ ให้ฟีลลิ่งที่พุ่ง และนุ่มในขณะเดียว หลายท่านอาจจะมองว่า มันเป็นไปได้ยังไง โดยเฉพาะเฟรมprincipiaที่ทำจากอลูมิเนียม ด้วยเนี้ยนะ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการศึกษา วิธีการออกแบบ ไปจนถึงทุกๆด้าน ที่ผสมกันมา จนกลายมาเป็นเฟรม principia ในปัจจุบัน และทำให้ผมหลงไหลมันมาตั้งแต่นั้น ผมขอบอกว่า ผมไม่ใช่กูรู ไม่ได้เก่งกว่าใคร และผมไม่สามารถปั่นเสือภูเขาขึ้นเขาแซงคนอื่นได้ แต่ผมเพียงแค่รัก principia มากกว่าคนอื่นเท่านั้นเอง สำหรับบทความต่อไปเราจะมาว่ากันในเรื่องรายละเอียดprincipiaกันครับ ไม่นาน